วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

IP Header ของ IPv6

IPv6 Packet Format

- สิ่งที่ควรจะรู้เกี่ยวกับ IPv6 เป็นอย่างแรกก็คือ packet format ของ IPv6 ครับ.. เพราะ packet format ก็คือ data structure ที่บอกว่า IPv6 สามารถทำอะไรได้บ้าง.. IPv6 packet ประกอบด้วย header, extended header, แล้วก็ payload ครับ .. Header ของ IPv6 ออกแบบมาให้มีขนาดคงที่และมีรูปแบบที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดย header จะประกอบด้วย field จำเป็นต้องใช้ในการ process packet ที่ทุกๆ router เท่านั้น พวก options ต่างๆ ที่อาจจะ process เฉพาะที่ต้น/ปลายทาง หรือ ที่ router บางตัวจะแยกออกมาไว้ที่ extended header แทน .. รายละเอียดของ extended header เดี๋ยวว่ากันในหัวข้อ extended header ละกันนะครับ.. ตอนนี้เรามาดูที่ header ของ IPv6 กันก่อน..
- จากรูปของ packet format จะเห็นว่า header ของ IPv6 ดู simple มากเมื่อเทียบกับ header ของ IPv4 เหตุผลก็เป็นไปตามนี้:
> Version ยังคงต้องมีเหมือนเดิม เพื่อใช้บอกว่า packet นี้เป็น IP version ไหน.. กรณีของ IPv6 ค่าของ version ก็จะเป็น 6
> Header length ถูกตัดออกไป เพราะขนาดของมันจะเป็น 40 octets เสมอ การกำหนดให้เป็น fixed length header ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของการประมวลผล packet ดีขึ้น
> Type of Service ของ IPv4 ถูกแทนที่ด้วย Traffic Class ซึ่งใช้ระบุว่า packet นี้อยู่ใน class ไหนและมีระดับความสำคัญเท่าไหร่ เพื่อที่ router จะได้จัด schedule ในการส่ง packet ให้เหมาะสม
> Flow label ใช้ระบุ end-to-end traffic flow ระหว่างต้นทางกับปลายทาง ใน application นึงสามารถสร้าง flow ได้หลายๆ อัน อย่างเช่น video conference เราสามารถแยก flow ของภาพและเสียงออกจากกันได้ แม้ว่าจะเปิด socket ในการทำงานเพียง socket เดียว
> Total Length แทนที่ด้วย Payload length เพื่อระบุขนาดของ payload ในหน่วย octet (byte) ดังนั้นขนาดของ payload สูงสุดจะเป็น 65535 octets
> Identification, Flag, Segmentation, Protocol, Options, และ Padding ถูกย้ายไปอยู่ในส่วนของ extended header เพราะถือว่าเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นต้อง process ในทุก router
> Hop Limit ถูกใช้แทน Time-To-Live ของ IPv4 ... ตาม IPv4 specification TTL จะเก็บเป็นเวลาจริงๆ หน่วยเป็นวินาที โดยระบุว่าแต่ละ router ต้องลด TTL ลงอย่างน้อย 1 วินาที แม้ว่าจะใช้เวลาประมวลผล packet น้อยกว่านั้น.. ในความเป็นจริงการประมวลผล packet เร็วมากครับ เพียงแค่ไม่กี่ usec เท่านั้น.. router ใหม่ๆ อาจจะทำได้น้อยกว่า 1 usec เสียอีก..router จึงลด TTL ครั้งละ 1 เสมอ .. TTL ก็เลยกลายเป็น hop count แทนที่จะเป็นเวลาจริงๆ ซึ่งก็เหมาะสมและง่ายต่อการประมวลผล... ใน IPv6 จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า Hop limit เพื่อให้ตรงกับความหมายจริงๆ ของมัน
> Next Header ซึ่งใช้เป็นตัวบอกว่า extended header ตัวถัดไปเป็น header ประเภทไหน
> Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่ามันซ้ำซ้อนกับ function ของ protocol บน layer ที่อยู่สูงกว่า IP อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผล packet ด้วย เพราะ checksum ต้องคำนวณใหม่ที่ router เสมอ หากตัดออกก็จะลดภาระงานที่ router ได้ ..
Extended Headers
- มาถึง extended header กันบ้าง .. จากเหตุผลข้างบนที่ย้ายหลายๆ field มาเป็น extended header ทำให้ IPv6 มี extended header หลายๆ แบบเลยครับ แต่ละแบบก็เอาไว้ใช้ทำงานเฉพาะอย่างเพียงงานเดียว ..ใน 1 packet เราสามารถใช้ extended header ได้มากกว่า 1 อัน ดังนั้น เราจึงขอ service จาก IPv6 ได้มากกว่า 1 อย่าง .. IPv6 specification ล่าสุดกำหนดให้มี extended header อยู่ 6 แบบ ทุกแบบจะขึ้นต้นด้วย field "Next Header" เสมอ เพื่อระบุว่า extended header อันถัดเป็นชนิดไหน..

> Hop-by-Hop Options: เป็น option ที่ระบุให้ทุก router ที่อยู่ในเส้นทางระหว่างต้น/ปลายทางจะต้องทำตาม ตอนนี้ใน IPv6 specification มี option อยู่เพียงสองอัน คือ Jumbogram options สำหรับให้ IPv6 packet มีขนาดใหญ่กว่า 65535 octets ได้ ขนาดของ jumbogram สูงสุดคือ 2^32 octets (4,294,967,295 octets) เชียวล่ะครับ..อีก option นึงเอาไว้ทำ padding
> Routing: ใช้สำหรับทำ source routing ครับ.. คือต้นทางสามารถระบุเส้นทางที่ packet ต้องผ่านได้ โดย list เป็น router ที่ต้องส่ง packet ผ่านไปจนถึงปลายทาง.. Source routing ของ IPv6 สามารถระบุแต่ละ router ใน list ได้เลยว่าเป็น strict source routing หรือ loose source routing (หมายความว่าเราระบุ ทั้ง strict และ loose source routing ผสมกันได้) ซึ่งยืดหยุ่นมากกว่า source routing ของ IPv4 ที่จะบังคับว่า router ใน list ต้องเป็น strict หรือไม่ก็เป็น loose source routing ทั้งหมด
> Fragment: ใช้สำหรับทำ fragmentation เหมือนของ IPv4 แต่ที่ต่างกันก็คือ IPv6 จะมี function สำหรับหา path MTU ไว้อยู่แล้วเพื่อจะได้รู้ว่าขนาด Maximum Transfer Unit ที่เหมาะสมของ path นั้นๆ มีค่าเป็นเท่าไหร่ ดังนั้นการทำ fragmentation จึงทำที่ source node เท่านั้น (IPv4 จะทำ fragmentation ทั้งที่ source node และ router)> Destination Options: ใช้งานคล้ายๆ กับ Hop-by-Hop option ครับ แต่จะเป็น option สำหรับปลายทางเท่านั้น.. ตอนนี้มีเพียง option เดียว คือเอาไว้ทำ padding
> Authentication: อันนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้ว..ใช้สำหรับทำ authentication รายละเอียดจะอยู่ในเรื่อง IP Security (IPSEC) เอาไว้ว่างๆ จะเขียนมาให้อ่านครับ ถ้าเอามารวมกับ IPv6 เดี๋ยวจะยาวเกินไป
> Encapsulated Security Payload: ใช้สำหรับทำ encryption และ cryptography อื่นๆ รายละเอียดก็จะอยู่ใน IP Security เหมือนกัน..

- Extended header มีอย่างมากไม่เกินแบบละ 1 อัน ยกเว้น destination option header ซึ่งอาจจะมีได้ 2 อัน..อืมม..ทีนี้พอมี extended header หลายๆ แบบอย่างนี้ก็ต้องมีลำดับการเรียง extended header ให้ถูกต้องด้วย...ถ้าใส่กันเต็มๆ ก็จะเรียงลำดับตามนี้:
1. IPv6 header
2. Hop-by-Hop Options header
3. Destination Options header
4. Routing header
5. Fragment header
6. Authentication header
7. Encapsulating Security Payload header8. Destination Options header9. Upper-layer header (e.g., TCP, UDP)


- IPv6 header ได้ถูกออกแบบให้มีขนาด Header ลดน้อยลง โดยทำการย้ายฟิลด์ที่ไม่จำเป็น หรือที่เพิ่มออก โดยวางไว้หลัง IPv6 header และใช้การแจ้งเป็น Streamline header ซึ่งมีประสิทธิภาพในการดำเนินการติดต่อกับ Router ทันทีทันใด

- IPv4 header กับ IPv6 header ไม่สามารถใช้ง่ายร่วมกันได้ ซึ่งในการวางระบบทั้ง Ipv4 และ IPv6 ต้องทำทั้งคู่เพื่อให้รู้จักรูปแบบของ Header ซึ่ง Header ของ IPv6 ใหญ่กว่าของ IPv4 สองเท่า และตำแหน่งที่อยู่ใหญ่กว่าถึง 4 เท่า

- เฮดเดอร์ของ IP โดยปกติจะมีขนาด 20 bytes ยกเว้นในกรณีที่มีการเพิ่ม option บางอย่าง ฟิลด์ของเฮดเดอร์ IP จะมีความหมายดังนี้

Version : หมายเลขเวอร์ชันของโปรโตคอล ที่ใช้งานในปัจจุบันคือ เวอร์ชัน 4 (IPv4) และเวอร์ชัน 6 (IPv6)
Header Length : ความยาวของเฮดเดอร์ โดยทั่วไปถ้าไม่มีส่วน option จะมีค่าเป็น 5 (5*32 bit)
Type of Service (TOS) : ใช้เป็นข้อมูลสำหรับเราเตอร์ในการตัดสินใจเลือกการเราต์ข้อมูลในแต่ละดาต้า แกรม แต่ในปัจจุบันไม่ได้มีการนำไปใช้งานแล้ว
Length : ความยาวทั้งหมดเป็นจำนวนไบต์ของดาต้าแกรม ซึ่งด้วยขนาด 16 บิตของฟิลด์ จะหมายถึงความยาวสูงสุดของดาต้าแกรม คือ 65535 byte (64k) แต่ในการส่งข้อมูลจริง ข้อมูลจะถูกแยกเป็นส่วนๆตามขนาดของ MTU ที่กำหนดในลิงค์เลเยอร์ และนำมารวมกันอีกครั้งเมื่อส่งถึงปลายทาง แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะมีขนาดของดาต้าแกรมไม่เกิน 512 byte
Identification : เป็นหมายเลขของดาต้าแกรมในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรมเมื่อข้อมูลส่งถึง ปลายทางจะนำข้อมูลที่มี identification เดียวกันมารวมกัน
Flag : ใช้ในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรม
Fragment offset : ใช้ในการกำหนดตำแหน่งข้อมูลในดาต้าแกรมที่มีการแยกส่วน เพื่อให้สามารถนำกลับมาเรียงต่อกันได้อย่างถูกต้อง
Time to live (TTL) : กำหนดจำนวนครั้งที่มากที่สุดที่ดาต้าแกรมจะถูกส่งระหว่าง hop (การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์ค) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งข้อมูลโดยไม่สิ้นสุด โดยเมื่อข้อมูลถูกส่งไป 1 hop จะทำการลดค่า TTL ลง 1 เมื่อค่าของ TTL เป็น 0 และข้อมูลยังไม่ถึงปลายทาง ข้อมูลนั้นจะถูกยกเลิก และเราเตอร์สุดท้ายจะส่งข้อมูล ICMP แจ้งกลับมายังต้นทางว่าเกิด time out ในระหว่างการส่งข้อมูล
Protocol : ระบุโปรโตคอลที่ส่งในดาต้าแกรม เช่น TCP ,UDP หรือ ICMP
Header checksum : ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเฮดเดอร์
Source IP address : หมายเลข IP ของผู้ส่งข้อมูล
Destination IP address : หมายเลข IP ของผู้รับข้อมูล
Data : ข้อมูลจากโปรโตคอลระดับบน

การใช้งานระหว่าง IPv4 และ IPv6

- การปรับเปลี่ยนเครือข่ายจาก IPv4 ไปสู่ IPv6 สามารถทำได้ 3 แนวทางคือ การทำ Dual Stacks , การใช้ Tunneling และการทำ Header Translation

1. การใช้สแต็กคู่ ( Dual Stacks ) คือ การทำให้โฮสต์สามารถใช้งานได้กับ IP address ทั้ง 2 version โดยจะพิจารณาว่าจะส่งข้อมูลไปโดยใช้ IP address version ไหนจากการส่ง packet ไปสอบถาม DNS ก่อนแล้ว จึงส่งข้อมูลตาม version ที่ DNS ตอบกลับมา ถ้า DNS ส่ง packet กลับมาเป็น IPv6 แสดงว่าโฮสต์ต้นทางจะต้องส่ง Packet เป็น IPv6 ข้อมูลจะสามารถส่งถึงโฮสต์ปลายทางได้

2.การใช้อุโมงค์เครือข่าย ( Tunneling) คือ วิธีการที่โฮสต์ต้นทางและโฮสต์ปลายทางใช้ IPv6 ทั้งคู่ แต่การสื่อสารระหว่าง 2 โฮสต์นี้ต้องกระทำผ่าน เครือข่าย IPv4 ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการ encapsulate IPv6 ให้เป็น IPv4 จึงจะสามารถส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่าย IPv4 ได้ หลังจากนั้นโฮสต์ปลายทางจึงจะทำการดีแคปซูเลต IPv4 ให้เป็น IPv6 ตามเดิม

3.การแปลงเฮดเดอร์ (Header Translation) คือ วิธีการนี้ใช้เมื่ออินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนเป็น IPv6 แล้วแต่ยังมีบางเครือข่ายที่ยังเป็น IPv4 อยู่จึงจำเป็นที่จะต้องทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ Header ทั้งหมด โดยใช้ตัวแปลงเฮดเดอร์ ซึ่งแปลงเฮดเดอร์ IPv6 ให้เป็น IPv4


• เทคนิคการทำ Translation เป็นวิธีที่ใช้กับการสื่อสารข้ามเครือข่าย เช่น โหนดจากเครือข่าย IPv4 ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ ในเครือข่าย IPv6 หรือ โหนดที่เป็น IPv6 ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ ที่เป็น IPv4

• หรือการทำ Translation คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปมาระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ IPv4 และ IPv6• เป็นกรณีที่ต่างไปจากการใช้งาน Dual stacks และ Tunnel

• การแปลงข้อมูลนี้สามารถทำได้หลายระดับ เช่น Network layer, Transport layer, หรือ Application layer

• ไม่ว่าจะทำการแปลงข้อมูลที่ระดับไหน องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นคือส่วนที่ทำหน้าที่แปลงหมายเลข IP address หรือ Address translation ซึ่งการแปลงหมายเลขสามารถทำได้โดยการจัดเก็บคู่หมายเลข IPv4 และ IPv6 address ทุกคู่ในเครือข่าย เราเรียกวิธีนี้ว่า Stateful address translation หรือจะทำการแปลงแบบอัตโนมัติ ที่เรียกว่า Stateless address translator ก็ได้
จุดเด่นของ IPv6 ที่เหนือกว่า IPv4

1. รูปแบบ Header ใหม่ IPv6 header ได้ถูกออกแบบให้มีขนาด Header ลดน้อยลง โดยทำการย้ายฟิลด์ที่ไม่จำเป็น หรือที่เพิ่มออก โดยวางไว้หลัง IPv6 Header และใช้การแจ้ง เป็น Streamline Header ซึ่งมีประสิทธิภาพในการดำเนินการติดต่อกับ Router ทันทีทันใด IPv4 Header กับ IPv6 Header ไม่สามารถใช้ง่ายร่วมกันได้ ซึ่งในการวางระบบทั้ง IPv4 และ IPv6 ต้องทำทั้งคู่เพื่อให้รู้จักรูปแบบของ Header ซึ่ง Header ของ IPv6 ใหญ่กว่าของ IPv4 สองเท่า และตำแหน่งที่อยู่ใหญ่กว่าถึง 4 เท่า

2. มีขนาด Address มากขึ้น IPv6 มีการกำหนดตำแหน่งที่อยู่ผู้ติดต่อ และผู้รับการ ติดต่อเป็น 128 บิต ซึ่งมีจำนวนที่อยู่ถึง 3.4x1038 ทำให้มีการออกแบบเป็นหลายลำดับชั้น และ จองที่อยู่สำหรับ Internet Backbone เพื่อแยกจากเครือข่ายในองค์กรซึ่งเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ ใช้สำหรับตำแหน่งโฮสต์ และมีที่อยู่จำนวนมาที่ใช้ในอนาคต ทำให้อ้างจะไม่จำเป็นที่ต้องใช้ NATs ในเครือข่ายอนาคตก็ได้

3. มีการกำหนดที่อยู่เป็นลำดับชั้น และกำหนดโครงสร้างการหาเส้นทางได้IPv6 Global Addresses ใช้บน IPv6 สามารถที่สร้างและกำหนดลำดับชั้นได้อย่างมีประสิทธิสำหรับการหา เส้นทาง และสิ่งที่เกิดขึ้นหลายลำดับในผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต บน IPv6 Internet, Backbone Routers ทำให้ขนาดข้อมูลใน Routing Table เล็กลง

4. ไม่จำเป็นที่ต้องแจ้งที่อยู่ก่อน หรือกำหนดที่อยู่ไว้ก่อนได้เป็นการกำหนดค่าโฮสต์ ซึ่ง IPv6 รองรับทั้งกำหนดค่าที่แจ้งไว้ก่อน เช่นการใช้ DHCP Server และการกำหนดค่าที่อยู่โดย ไม่แจ้งไว้ก่อนได้ (Stateless) ในกรณีที่ไม่มี DHCP Server อยู่ เครื่องโฮสต์บนลิงค์นี้จะ กำหนดค่าอัตโนมัติในตัวเองด้วย IPv6 addresses สำหรับลิงค์ (Link-Local Addresses) และ การกำหนดค่าที่อยู่โดยนำมาจากค่าประกาศด้านหน้าของ Routers แม้ว่าไม่มี Router โฮสต์ก็ สามารถที่ลิงค์ได้โดยกำหนดค่าที่อยู่ในลิงค์ท้องถิ่นเอง ด้วย Link-Local Addresses และการ สื่อสารโดยไม่ต้องกำหนดค่าที่อยู่ด้วยมือ

5. ฝังความปลอดภัยไว้ภายในรองรับ IPSec บนลำดับชั้นของ IPv6 ซึ่งรองรับเป็นทาง แก้ปัญหามาตรฐาน ซึ่งทำให้การสื่อสารระหว่างเครื่องมีความปลอดภัย6. รองรับบริการ Quality of Service (QoS) มีฟิลด์ใหม่ใน IPv6 Header ที่กำหนด สำหรับรองรับการระบุ ซึ่งระบุการจราจร โดยใช้ฟิลด์ Flow Label ใน IPv6 Header อนุญาตให้ Router ทำการระบุและดูแลแพ็ตเก็ตที่ไหล การไหลที่เป็นชุดของแพ็ตเก็ตระหว่างต้นทาง ไปยัง ปลายทาง โดยรองรับ QoS ทำให้ง่ายต่อการติดต่อให้บรรลุเป้าหมายเมื่อมี Packet Payload ถูกเข้ารหัสด้วย IPSec7. มีการติดตั้งกับเครื่องข้างเคียง Neighbor Discovery Protocol สำหรับ IPv6 เป็นชุด Internet Control Message Protocol สำหรับ IPv6 (ICMPv6) ซึ่งจัดการโหนดเพื่อนบ้าน

* IPv6 ใช้ 128 bits ในการระบุหมายเลข IP ในขณะที่ IPv4 มีพื้นที่ให้ระบุเพียง 32 Bits ทำให้ IPv6 สามารถรองรับจำนวนหมายเลข IP ได้มากกว่า

* IPv6 มีการกำหนดขนาดของส่วน Header เอาไว้ตายตัว ทำให้ความเร็วในการประมวลผลและการส่องต่อมีประสิทธิภาพขึ้น

* IPv6 มีการออกแบบ Header มาเพื่อช่วยให้การค้นหาเส้นทางมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

* IPv6 ตัดส่วนที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลออกไป เพราะหน้าที่สามารถให้ layer ข้างบนทำได้ เป็นการลดภาระงานของ Router ด้วย

* IPv6 สามารถรองรับต่อขนาดของข้อความ (payload) ได้ถึง 4 GiB. ซึ่ง IPv4 รองรับได้แค่ 64 KiB

* ส่วน OS ที่รองรับ ก็มี Linux , Windows XP/ Vista, Mac OS X

ที่มา : 1. http://www.thaicert.nectec.or.th/paper/basic/tcp-ip.php
2. http://74.125.153.132/search?q=cache:aS_ouR6ZgfQJ:ccsmail.sut.ac.th/e-ru/teacher/file/file172.doc+ip+header+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+IPV4&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th&lr=lang_th
3. http://eng.sut.ac.th/tce/Photos/couseonline/Gr14.pdf
4. http://kitty.in.th/index.php?room=article&id=83
5. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=11256713b4c94964
6. http://kom.homelinux.org/node/288
7. http://www.specialist.co.th/se/web/news_detail.php?id=70

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

topology

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง

3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

4.Mesh Topology คือ รูปแบบการเชื่อมต่อที่ สำหรับแต่ละ Node จะมี Dedicate Links ไปยัง Node อื่นๆ ที่เหลือ มักใช้เป็น Backbone สำหรับเชื่อมต่อกับ Network ที่เป็น Topology อื่น
ข้อดี ของรูปแบบ Mesh ได้แก่ แต่ละ Link รับผิดชอบเพียงอุปกรณ์ 2 ตัว จึงไม่เกิดปัญหา เกี่ยวกับการจัดสรรช่องการสื่อสาร ถ้ามี Link ใดเสียหาย ระบบยังคงสามารถทำงานได้ (Robust) ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลดี นอกจากนี้ยังสามารถบ่งชี้ตำแหน่งบกพร่องใน Network และแก้ไขได้ง่าย
ข้อเสีย ของรูปแบบ Mesh ได้แก่ จำนวน I/O Links ทั้งหมดมีค่ามาก nC2 = n (n – 1)/2

ข้อสอบ
-จงบอกข้อดีและข้อเสียของ Star Topology
-จงออกแบบ BUS Topology พร้อมกับบอกอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ
-จงออกแบบเครือข่ายห้อง lab คอมพิวเตอร์ของหลักสูตรระบบสารสนเทศให้เชื่อมต่อกันได้และสามารถใช้ Wireless LAN พร้อมทั้งบอกอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบทั้งหมดมาให้ครบ
-mesh topology คืออะไร
-hub ทำหน้าที่อะไร
แหล่งที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7098f797c7c0afea

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แบบทดสอบเรื่อง Windows Server 2003

แบบทดสอบ
1.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003)เป็นรุ่นถัดจากรุ่นใด
ก.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000
ข.วินโดวส์ xp
ค.วินโดวส์ 95
ง.วินโดวส์ Mobile
2.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกเมื่อใด
ก.วันที่ 28 เมษายนพ.ศ.2547
ข.วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547
ค.วันที่28 มีนาคม พ.ศ. 2457
ง.วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2457
3.ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003 มีส่วนช่วยหลายๆอย่างยกเว้นข้อใด
ก.เพิ่มผลการทำงานให้กับทุกส่วนขององค์กร
ข.ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค.แอพพลิเคชั่นได้รับการพัฒนา, นำไปใช้ และทำงานได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น
ง.เพิ่มงานให้แก่องค์กร
4.ข้อใดไม่ใช่บริการของบริการคลัสเตอร์
ก.การจัดการฐาน ข้อมูล
ข.การใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านอินทราเน็ต
ค.การใช้ไฟล์ร่วมกัน
ง.การทำธุรกิจร่วมกัน
5.การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 2003 Serverแบ่งออกเป็นกี่แบบ
ก. 1แบบ
ข. 2แบบ
ค. 3แบบ
ง. 4แบบ
6.การเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน ในอะไรของเครื่องคอมพิวเตอร์
ก.CPU
ข.RAM
ค.bios
ง.Rom
7.Windows Server 2003 ได้รวมฟังก์ชั่นการทำงานของระบบที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาบริการเว็บที่ชื่อว่า
อะไร
ก.LMX
ข.XML
ค.MXL
ง.XLM
8.Active Directory หมายถึงอะไร
ก.การบริหารข้อมูลผู้ใช้บนเครือข่ายที่มีความซับซ้อนที่ดีขึ้น
ข.สร้างนโยบายรวมศูนย์เพื่อบริหารการใช้ซอฟท์แวร์ของทั้งเครือข่ายที่ดีและปลอดภัยขึ้น
ค.ประสิทธิภาพการทำงานของ Server
ง.บริหารการลบและกู้คืนไฟล์ที่ดีขึ้น
9.Terminal Services หมายถึงอะไร
ก.การให้บริการที่ไม่ขาดตอน
ข.การรันโปรแกรมโดยอาศัยทรัพยากรของเซอร์ฟเวอร์ผ่านหน้าจอของ Client
ค.การบริหารไฟล์จำนวนมากมหาศาลในองค์กรที่ง่ายขึ้น
ง.การกู้ข้อมูลคืน โดยใช้เครื่องมือ
10.ในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ วินโดวส์เซิฟเวอร์ใดวินโดวส์
ก.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ ลองฮอร์น
ข.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003
ค.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000
ง.วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ โลฮอร์น
เฉลย
1. ก 2.ข 3. ง 4.ง 5. ค 6. ค 7. ข 8.ก 9.ข 10. ก

แบบทดสอบเรื่อง เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

แบบทดสอบ

1.ระบบเครือข่ายระบบหนึ่งอาจประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่กี่เครื่องขึ้นไป

ก.1 เครื่อง
ข.2 เครือง
ค.3 เครื่อง
ง. 5 เครื่อง

2.ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปมี 3 แบบ ดังนี้ยกเนข้อใด

ก. Local Area Network (LAN)
ข. Metropolitan Area Network (MAN)
ค. Wide Area Networks (WANs)
ง. Token-passing (NAN)

3.Local Area Network (LAN) เป็นการเชื่อมแบบใดต่อไปนี้
ก.เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็ก ในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก
ข.เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN
ค.เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่าแบบ MAN
4.ลักษณะการต่อสาย LAN หรือที่เรียกกันว่า topology โดยทั่วไปมี กี่แบบ

ก. 2แบบ
ข.3แบบ
ค.4แบบ
ง.5แบบ

5.การต่อสาย lanแบบ STAR หรือเรียกว่าแบบดาว มีละกษณะการต่อแบบใดต่อไปนี้

ก.การต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อต่อที่เรียกว่า HUB
ข.เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับสายสัญาณหลักที่อยู่ตรงกลาง
ค.เป็นการเชื่อมต่อแบบร้อยต่อกันเป็นวงผ่านทุกเครื่องในระบบจนครบ

6. โครงสร้างของระบบเครือข่ายทั้งหมดมีกี่แบบ

ก. 2แบบ
ข. 3แบบ
ค. 4แบบ
ง. 5แบบ

7.โครงสร้างแบบบัส (Bus Network)มีลักษณะอย่างไร

ก.การเชื่อมต่อจะเป็นแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นเดียว ลากต่อกันไป
ข.เป็น การเชื่อมต่อคล้ายๆดาวกระจายคือจะมีอุปกรณ์เช่น ฮับ หรือสวิทช์ เป็นศูนย์กลาง
ค.เป็นการเชื่อมต่อกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
ง.เป็นการเชื่อมต่อที่ใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล

8. โครงสร้างแบบริง (Ring Network) ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นลักษณะใด

ก.แบบวงกลม
ข.แบบทวนเข็มนาฬิกา

ค.แบบตรง
ง.แบบวงแหวน

9.MAN ( Metropolitan Area Network )เป็นเครือข่ายระดับใด

ก.ระดับจังหวัด
ข.ระดับองค์กร
ค.ระดับเมือง
ง.ระดับประเทศ

10.WAN (Wide Area Network )เป็นเครือข่ายระดับใด

ก.ระดับองค์กร
ข.ระดับจังหวัด
ค.ระดับเมือง
ง.ระดับจังหวัดและระดับประเทศ

เฉลย

1.ข 2.ง 3.ค 4.ข 5.ก 6.ค 7.ก 8.ง 9.ค 10. ง

แบบทดสอบเรื่อง IP address

แบบฝึกหัด
1.IP Address คืออะไร
ก.หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์
ข.หมายเลขของระบบ LAN
ค.หมายเลขของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ง.หมายเลข server
2.หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขกี่ชุด
ก. 2ชุด
ข. 3ชุด
ค. 4ชุด
ง. 5ชุด
3.IPv4 มีกี่บิต
ก. 16 บิต
ข. 32 บิต
ค. 64 บิต
ง.128 บิต
4.หมายเลข IP Address ของ class c เริ่มจากหมายเลขใด
ก. 191-223
ข. 191-333
ค. 192-223
ง. 192-240
5.หมายเลข IP Address ของ class B เริ่มจากหมายเลขใด
ก.126-192
ข.126-193
ค.127-191
ง.128-191
6.หมายเลข subnet mask ของ class A คือเท่าไร
ก.255.225.0.0
ข.255.255.0.0
ค.255.0.0.0
ง.255.255.255.0
7.หมายเลข subnet mask ของ class B คือเท่าไร
ก. 255.225.0.0
ข. 255.255.0.0
ค. 255.255.225.0
ง. 255.255.255.0
8.หมายเลข subnet mask ของ class c คือเท่าไร
ก.255.0.0.0
ข.255.255.0.0
ค.255.255.255.0
ง.255.255.255.255
9.หมายเลข netและ host ของ class A คืออะไร
ก.H.N.N.N
ข.N.N.N.H
ค.N.H.H.H
ง.N.N.H.H
10.หมายเลข netและ host ของ class c คืออะไร
ก.N.N.N.H
ข.N.N.H.H
ค.H.N.N.N
ง.N.H.H.H
เฉลย
1.ก 2.ค 3.ข 4.ค 5.ง 6.ค 7.ข 8.ค 9. ค 10.ก

แบบทดสอบเรื่อง คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการไฟล์

แบบทดสอบ
1.ข้อใดคือคำสั่งสำหรับการลบไฟล์
ก.คำสั่ง mkdir
ข.คำสั่ง mv
ค.คำสั่ง pwd
ง.คำสั่ง rm
2.ข้อใดให้ความหมายของคำสั่งChown ได้ถูกต้อง
ก.เป็น Ownerของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์)
ข.เป็นGroupของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์)
ค.เป็นคำสั่งสำหรับการลบไดเร็คทอรี่
ง.แสดง directory ที่เราอยู่ปัจจุบัน
3.ข้อใดคือคำสั่งของการจัดการโปรเซสทั้งหมด
ก คำสั่งBg คำสั่ง Fgและคำสั่ง mkdir
ข.คำสั่ง Fg คำสั่ง mkdirและ คำสั่ง pwd
ค.คำสั่งPs คำสั่งKil และlคำสั่ง Fg
ง.คำสั่ง Fgคำสั่ง mkdirและ คำสั่ง rm
4.ข้อใดคือความหมายของคำสั่งคำสั่งKill
ก.การดูสถานะของ Process
ข.เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process ส่งรหัสควบคุมไปยังโปรเซส
ค.เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall
ง.ไม่มีข้อถูก
5.ข้อใดไม่ใช่คำสั่งสำรองข้อมูล
ก.คำสั่ง Fg
ข.คำสั่ง gunzip
ค.คำสั่ง gzip
ง.คำสั่ง tar
6.คำสั่ง ftpเป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับทำอะไร
ก.เป็นคำสั่งที่เปลี่ยน host ที่ใช้อยู่ไปยัง host อื่น
ข.ใช้เปลี่ยน directoryftp> delete และ mdelete ใช้ลบไฟล์
ค.ใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้น
ง.เป็นคำสั่งที่ใช้ถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง
7.คำสั่งddเป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับทำอะไร
ก.เป็นคำสั่งไว้สร้าง link ไปยังที่ ที่ต้องการ คลายกับ shortcut
ข.แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ
ค.ลบบรรทัดปัจจุบันทั้งบรรทัด
ง.แสดง/กำหนดชื่อโฮสต์ คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่
8.คำสั่งhostname
ก. แสดง/กำหนดชื่อโฮสต์ คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่
ข.แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ
ค.ใช้แสดงรายชื่อผู้ login เข้ามาล่าสุด
ง. ต้องการชื่อเต็ม (full pathname)
9.ข้อใดคือหน้าที่ของคำสั่งfree
ก.ใช้แสดงรายชื่อผู้ login เข้ามาล่าสุด
ข.ต้องการชื่อเต็ม (full pathname)
ค.ลบบรรทัดปัจจุบันทั้งบรรทัด
ง.แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ
10.คำสั่ง dfเป็นคำสั่งที่มีหน้าที่อย่างไร
ก.เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์
ข.คำสั่งนี้จะแสดงค่าตัวแปลสภาพ แวดล้อม.
ค.แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ
ง.ลบบรรทัดปัจจุบันทั้งบรรทัด
เฉลย
1.ง 2.ก 3. ค 4. ข 5. ก 6. ง 7. ค 8. ก 9. ง 10.ก

แบบทดสอบเรื่อง การใช้โปรแกรม captivate 3

แบบทดสอบ

1.ข้อใดไม่ใช่จุดเด่นของโปรแกรม

ก.บันทึกและตัดต่อไฟล์เสียงได้
ข.รองรับการแสดงผลจาก browser ได้อย่างสมบูรณ์
ค.ตัดต่องานสื่อวีดีโอได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
ง.เชื่อมโยงกับเครือข่ายทุกเครือข่ายได้

2.ความต้องการทรัพยากรโดยรวมของ adobe ข้อใดถูกต้อง

ก.พื้นที่ว่างใน harddisk ไม่น้อยกว่า 700 MB
ข.หน่วยความจำชั่วคราว (RAM) ไม่น้อยกว่า 512 MB
ค.รองรับการแสดงผลที่ 800*600 pixels
ง.ถูกทุกข้อ

3.ประเภทของไฟล์สำหรับสร้างงานและส่งออก adobe สามารถรับไฟล์นำเข้ได้ไฟล์

ก.2ไฟล์
ข.3ไฟล์
ค. 4 ไฟล์
ง. 5ไฟล์

4.ข้อใดไม่ใช่ไฟล์ที่adobe สามารถนำเข้าได้

ก.ไฟล์รูปภาพ
ข.ไฟล์วีดีโอ
ค.ไฟล์เสียง
ง.ไม่มีข้อถูก

5. adobe สามารถส่งไฟล์ออกได้แบบยกเว้นไฟล์ที่มีนามสกุลใดต่อไปนี้ข้อใดต่อไปนี้

ก. .html
ข. .cp
ค. .mth
ง. .exe

6. Exe File (.exe) เป็นไฟล์สำหรับทำอะไร

ก.เป็นไฟล์สำหรับนำไปใช้กับเว็บไซต์
ข.เป็นไฟล์สำหรับการนำเสนอแบบ stand alone
ค.เป็นไฟล์ลักษณะวีดีโอไฟล์ออนไลน์
ง.เป็นรูปแบบไฟล์เอกสารมาตราฐาน

7.Docment (.doc) คือไฟล์อะไร

ก.เป็นรูปแบบไฟล์เอกสารมาตรฐาน microsoft word
ข.เป็นไฟล์ลักษณะวีดีโอไฟล์ออนไลน์
ค.เป็นไฟล์สำหรับนำไปใช้กับเว็บไซต์
ง.ไม่มีข้อถูก

8. html File (.html) เป็นไฟล์สำหรับทำอะไร
ก.เป็นไฟล์สำหรับนำไปใช้กับเว็บไซต์
ข.เป็นไฟล์สำหรับการนำเสนอแบบ stand alone
ค.เป็นไฟล์ลักษณะวีดีโอไฟล์ออนไลน์
ง.เป็นรูปแบบไฟล์เอกสารมาตราฐาน

9. ZIPFile (.zip) เป็นไฟล์สำหรับทำอะไร
ก.เป็นไฟล์สำหรับนำไปใช้กับเว็บไซต์
ข.เป็นไฟล์ที่รองรับมาตรฐานSOCRM
ค.เป็นไฟล์ลักษณะวีดีโอไฟล์ออนไลน์
ง.เป็นรูปแบบไฟล์เอกสารมาตราฐาน

10.ข้อใดคือขั้นตอนแรกของการติดตั้งโปรแกรม Adobe Captivate 3.0

ก. Adobe ทำการแตกไฟล์สำหรับกระบวนการติดตั้ง
ข.ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์Adobe_ Captivate 3_WWE3.exe แล้วปรากฏหน้าต่างขึ้นให้แล้วกด next
ค.Install Adobe Captivate 3.0
ง.Adobe จะทำการติดตั้งโปรแกรม

เฉลย

1. ง 2.ง 3. ค 4. ง 5. ค 6. ข 7.ก 8. ก9. 10.ข